บ่อเกิดแห่งกฎหมาย

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์และสี่ราชอาณาจักรก่อนหน้าซึ่งนับตามแบบ ที่เรียกรวม ๆ ว่าสยามนั้น มีรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้จัดทำประมวลกฎหมายเป็นส่วนใหญ่จนปี 2475 ในคำปรารถถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2451 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน พระมหากษัตริย์ตรัสว่า “ในสมัยโบราณ พระมหากษัตริย์แห่งชาติสยามปกครองราษฎรของพระองค์ด้วยกฎหมายซึ่งเดิมมาจากมนูธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นกฎหมายที่ใช้ทั่วไปในหมู่ชาวอินเดียและประเทศเพื่อนบ้าน”

บ่อเกิดหลักของกฎหมายไทยมีดังนี้

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งมิได้
  • พระราชบัญญัติและบทกฎหมาย ซึ่งหลายฉบับสร้างและแก้ไขเพิ่มเติม 4 ประมวลกฎหมายพื้นฐาน ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ประมวลกฎหมายอาญา (ปอ.) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายซึ่งใหม่กว่ามีประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลรัษฎากร
  • พระราชกำหนดหรือพระบรมราชโองการ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตราตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เมื่อจำเป็นต้องมีกฎหมายใหม่เพื่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศหรือเพื่อปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ
  • สนธิสัญญา
  • กฎหมายรอง หมายถึง ข้อบังคับ (ของกระทรวง) คำสั่ง ประกาศ พระราชกฤษฎีกาและกฎ
  • ความเห็นของศาลฎีกาและคำวินิจฉัยของศาลอื่น บรรทัดฐานเกี่ยวกับการศาลในประเทศไทยไม่ผูกพัน ศาลไม่ถูกผูกพันให้ยึดคำวินิจฉัยของศาลเอง ศาลระดับล่างไม่ถูกผูกพันให้ยึดบรรทัดฐานที่ศาลระดับสูงกว่ากำหนด ทว่า กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากบรรทัดฐานคอมมอนลอว์ ฉะนั้น ศาลจึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคำวินิจฉัยก่อน ๆ หรือคำวินิจฉัยของศาลระดับสูงกว่า ศาลฎีกาจัดพิมพ์คำวินิจฉัยของศาลเอง เรียก “คำพิพากษาศาลฎีกา” ซึ่งมักใช้เป็นอำนาจชั้นรองและกำหนดเลขตามปีที่ออก ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญยังจัดพิมพ์คำวินิจฉัยหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดของตนด้วย